Conditional formatting ด้วย custom formula ใน spreadsheet
ถ้าเราต้องการไฮไลต์ cell ใน spreadsheet เราสามารถใช้เมนู "conditional formatting" ได้ เพื่อให้เด่นสะดุดตา และอ่านง่ายขึ้นฮะ เมนูที่ว่า อยู่ใต้เมนู format
อีกทีนึง
แต่ถ้าเราอยากไฮไลต์ทั้งแถว หรือทั้งคอลัมน์ล่ะ?
dollar sign
ก่อนอื่น เราจะต้องเข้าใจการใช้เครื่องหมาย $
(dollar sign) ใน spreadsheet ก่อนนะฮะ ไม่ว่าจะเป็น google sheet, Microsoft excel หรือ Numbers ก็ทำงานเหมือนกัน คือ ล็อคแถวหรือคอลัมน์เมื่อเรากำหนดแถวหรือคอลัมน์นั้นลงไปในสูตร
ตัวอย่างตามรูปนี้ฮะ
ดูที่สีส้มอ่อนนะฮะ เราต้องการล็อคสูตรไว้ที่คอลัมน์ A
แล้วปล่อยให้มันรันสูตรอัตโนมัติไปตามแต่ละแถวอย่างนี้ ดังนั้น เราต้องวาง $
ไว้หน้าตัว A
ทีนี้ สีเขียวนั้น คือเราล็อคแถวไว้ที่แถวหมายเลข 8
แปลว่า เราก็ต้องวาง $
ไว้หน้าเลข 8
แล้วถ้าเราต้องล็อคไว้ที่ cell นั้น cell เดียว นั่นคือล็อคทั้งแถวและคอลัมน์ แปลว่า เราก็ต้องวาง $
ทั้งแถวและคอลัมน์เช่นกันฮะ เหมือนตัวอย่างสีม่วง
Conditional formatting ตลอดแนว
คราวนี้ โจทย์คือ เราอยากกำหนด conditional format ทั้งแถวเลยล่ะ
ทำทั้งแถว
สมมติ เราอยากเน้นสีเขียวให้กับรายการที่เป็นพนักงานแผนก IT สูตรง่ายๆ ที่เราจะใช้เปรียบเทียบค่า ก็คือ =$C2="IT"
เพราะเราล็อคคอลัมน์ C
ที่เป็นชื่อแผนกเอาไว้
แต่เราจะใช้แบบนั้นตรงๆ ไม่ได้ เพราะจากรูปเรากำหนด range ไว้เป็น A1:D31
หมายความว่าแถวแรกคือเลข 1 ดังนั้นสูตรที่ต้องใช้ คือ =$C1="IT"
เพราะสูตรจะรันไปตามแถวแรกของ range ฮะ ถ้าเราใส่เป็นเลข 2 จะทำให้ผลลัพธ์ถูกเลื่อนไป ลองดูฮะ แล้วถ้าเราต้องการใช้สมการ =$C2="IT"
เราก็ต้องกำหนด range เป็น A2:D31
แทนฮะ
ทำทั้งคอลัมน์
เช่นเดียวกัน เราสามารถใช้สูตรที่ล็อคแถวเพื่อกำหนด format ของทั้งคอลัมน์ได้ ด้วย custom formula เหมือนรูปข้างบนฮะ และก็ต้องมั่นใจว่าเรากำหนด range ไว้ถูกต้องด้วยฮะ นั่นคือ ใส่ค่าคอ ลัมน์แรกของ selected range
มันก็เป็นอีกวิธีง่ายๆ ให้เอกสารของเราดูดี สะดุดตาขึ้นนะฮะ