Data 4.0 (ภาค 5 จบ)
สวัสดีตัวเองและชาวโลกอีกรอบฮะ
จากครั้งที่แล้วที่คุยกันเรื่องกฎหมาย GDPR คราวนี้เป็นตาของกฎหมายไทยละฮะ นั่นคือ...

PDPA (Personal Data Protection Act)
กฎหมายตัวนี้ที่เป็นตัวล่าสุดในขณะนี้ ผ่านการอนุมัติแล้วนะฮะ ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 นี่เอง ส่วนใหญ่ก็คล้ายๆกันกับ GDPR นะฮะ แต่ต่างกันตรงที่
บทบาทของคน 2 กลุ่ม
- Data controller
เหมือนกันกับ GDPR ฮะ เค้ามีหน้าที่กำหนดว่าจะจัดการ ใช้งานและเปิดเผยข้อมูลส่วนไหน เรื่องอะไรบ้าง - Data Processor
เป็นคนที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล ตามข้อกำหนดของ Data controller ฮะ
ทีนี้ ตัว PDPA ไม่ได้นิยามเจ้าของข้อมูลหรือ Data owner เหมือน GDPR นะฮะ แต่มีนิยามของ "ข้อมูลส่วนตัว" เพิ่มมาหน่อยนึงว่า ไม่ให้รวมถึงข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว
ขอบเขตของ PDPA
- การเก็บข้อมูล ใช้งาน และเปิดเผยภายในราชอาณาจักรไทย
- การเสนอสินค้า หรือบริการให้แก่ประชาชนในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะต้องจ่ายเงินหรือไม่
- การสอดส่องข้อมูลที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย
การขอความยินยอม
กฎหมาย PDPA ไม่ได้กำหนดชัดเจนนะฮะ ว่าจะต้องเป็นอย่างไร แต่ได้บอกคร่าวๆเอาไว้ว่า
- ต้องแจ้งให้ลูกค้ารับทราบ
- ต้องเข้าใจง่าย
- ต้องไม่ทำให้กำกวม เข้าใจผิด
- ต้องให้ลูกค้าสามารถยกเลิก ตอนไหนก็ได้
ข้อยกเว้นของ PDPA
ตัว PDPA กำหนดข้อยกเว้นเอาไว้ ว่าเคสพวกนี้จะไม่ถูกบังคับใช้ฮะ
- การเก็บข้อมูลของตัวเอง เพื่อประโยชน์ของตัวเองหรือครอบครัว
- องค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่เพื่อความปลอดภัยของรัฐ การคลัง ประชาชนและความปลอดภัยไซเบอร์
- สื่อมวลชน ศิลปกรรม และวรรณกรรมภายใต้กรอบจริยธรรมวิชาชีพ
- สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
- ระบบการสอบสวนคดี
- ระบบการตรวจสอบของธุรกิจเครดิต
นั่นแหละฮะ กฎหมาย PDPA ของไทย ทีนี้ ไม่ว่าเราจะอยู่ในยุโรป ไทย หรือประเทศไหนก็ควรรู้กฎหมายของแต่ละที่ และคำนึงถึงการออกแบบระบบด้วยนะฮะ เพราะกฎหมายเนี่ยก็เขียนออกมาเพื่อผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายแหละฮะ
อันนี้เป็นภาคสุดท้ายของซีรี่ส์ Data 4.0 แล้วนะฮะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องไหน ก็ติดตามกันด้วยนะฮว๊าฟฟฟ
References:
https://www.biia.com/the-first-thailand-personal-data-protection-act-has-been-passed
https://jor8.coj.go.th/th/file/get/file/2019041180cf956c0796e216bd867e1797bf7341151859.pdf